โพสต์ | Passive income FOREX
top of page
  • Writer's picturePassive Income Forex

ปัจจัยสำคัญกระทบราคาน้ำมันดิบและเคล็ดลับการเทรดน้ำมันดิบง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์รายวัน

Updated: Mar 30


น้ำมันดิบต่างกับน้ำมันสำเร็จรูปยังไง? ปัจจัยสำคัญกระทบราคาน้ำมันดิบและเคล็ดลับการเทรดน้ำมันดิบง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์รายวัน

น้ำมัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยการเดินทางและการขนส่งในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพายานพาหนะที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีการกระจายการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง และเทคโนโลยียานยนต์ที่มีการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่ก้าวหน้าขึ้นก็ตาม


น้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้ปัจจุบันมีวัตถุดิบการผลิตมาจาก “น้ำมันดิบ” ซึ่งเป็นปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลวพบในธรรมชาติ ที่มีส่วนผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด และอาจมีสารอื่นผสมด้วย เช่น กำมะถัน ไนโตรเจน ออกซิเจน โดยเมื่อขุดเจาะขึ้นมาแล้วจะเห็นลักษณะกายภาพเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล


แหล่งน้ำมันสําคัญของโลกส่วนมากจะอยู่ใน ตะวันออกกลาง

แหล่งน้ำมันสําคัญของโลกส่วนมากจะอยู่ใน ตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก คูเวต กาตาร์ สหพันธ์รัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน เช่น เวเนซูเอลลา โคลัมเบีย เม็กซิโก และตรินิแดด รวมถึงสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยมีผลิตน้ำมันดิบเช่นกันโดยแหล่งผลิตบนบก เช่น แหล่งสิริกิติ์ ส่วนแหล่งผลิตในอ่าวไทยได้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่ปริมาณน้ำมันในประเทศไทยมีไม่เพียงพอกับปริมาณการใช้ ไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูป

เมื่อนำน้ำมันดิบขึ้นมาแล้วยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เพราะต้องแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆ จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของสารได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน และน้ำมันเตา


น้ำมันสำเร็จรูปที่สำคัญ คือ น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยน้ำมันเบนซิน เป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้อย่างแพร่หลายสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินและรถจักรยานยนต์ โดยในประเทศไทยมีโรงกลั่นที่ผลิตนํ้ามันเบนซินตามมาตรฐานยูโร 4 รวมทั้งในอนาคตโรงกลั่นน้ำมันในไทยยังมีความพร้อมที่จะผลิตตามมาตรฐานยูโร 5 ได้


นํ้ามันแก๊ซโซฮอล์ E10 E20 และ E85

นอกจากนี้ มีการนำน้ำมันเบนซินไปผสมกับเอทานอล เพื่อให้ได้นํ้ามันแก๊ซโซฮอล์ E10 E20 และ E85 ซึ่งเป็นการช่วยดูดซับสินค้าเกษตรที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอล เช่น มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น

ส่วนน้ำมันดีเซลเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล โดยผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลแบ่งตามคุณสมบัติที่ใช้ คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง เช่น รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนช้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบต่ำ เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร


การจำหน่ายนํ้ามันดีเซลในไทยกำหนดให้มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 7% หรือ B7 และกำลังจะปรับขึ้นเป็น B10 เพื่อเพิ่มการใช้ไบโอดีเซลในไทย ซึ่งจะช่วยให้การดูดซับน้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในไทยอ้างอิงจากราคาตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากเรานำเข้าน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ และราคาตลาดสิงคโปร์สะท้อนถึงการซื้อขายของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นตลาดที่ส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ปริมาณการซื้อขายสูงทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ราคาจะปรับไปตามกลไกอุปสงค์-อุปทาน (Demand - Supply) ของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ


ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันที่สำคัญ 5 ปัจจัย คือ


1.การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการเชื้อเพลิงในแต่ละฤดูกาล โดยเมื่อเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจขยายตัวจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าเป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้น


2.ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ซึ่งความตรึงเครียดระหว่างสหรัฐและอิหร่านได้กระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมา


3.ปัจจัยสภาพอากาศและภัยพิบัติ จะเห็นชัดเจนในกรณีการเกิดเฮอร์ริเคนในสหรัฐฯ ที่มีผลให้โรงกลั่นในสหรัฐฯ ปิดตัวชั่วคราว ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบเพื่อใช้ในการผลิตลดลง ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวลดลง แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปอาจปรับตัวสูงขึ้น


4.ปัจจัยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศชะลอตัวและทำให้ราคาน้ำมันลดลง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาท่าทีระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังเป็นประเด็นที่ยังไม่มีความแน่นอน


5.ปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทอยู่ในระดับแข็งค่า ซึ่งทำให้ต้นทุนในการนำเข้าพลังงานลดลงและมีผลต่อราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ


ส่วนการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง และส่งผลต่อเนื่องให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ในขณะที่การใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่บริษัทน้ำมันคาดการณ์ว่าในระยะสั้นจะไม่มีผลต่อการใช้น้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ


*อิทธิพลของโอเปก OPEC สำคัญกับราคาน้ำมันมาก

อิทธิพลของโอเปก OPEC สำคัญกับราคาน้ำมันมาก

OPEC คือใคร ทำไมสำคัญกับราคาน้ำมันมาก

The Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก คือองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในงานประชุมที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 10-14 กันยายน ค.ศ. 1960 โดยอิรัก อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา และเริ่มมีประเทศอื่นเข้าร่วมเพิ่มเติม ได้แก่ ลิเบีย (ค.ศ. 1962) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ค.ศ. 1967) อัลจีเรีย (ค.ศ. 1969) ไนจีเรีย (ค.ศ. 1971) แองโกลา (ค.ศ. 2007) กาบอง (ยกเลิกการเป็นสมาชิกในปีค.ศ. 1995 แต่กลับมาอีกครั้งในปีค.ศ. 2016) อิเควทอเรียลกินี (ค.ศ. 2017) และคองโก (ค.ศ. 2018) รวมแล้ว OPEC มีสมาชิกทั้งหมด 13 ประเทศ


ในช่วง 5 ปีแรกของการก่อตั้ง OPEC มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นจึงย้ายมาที่เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรียตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1965 ทั้งนี้ OPEC มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมกลุ่มประเทศสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตปิโตรเลียม และตกลงนโยบายด้านราคาและการผลิตให้เป็นหนึ่งเดียว ช่วยให้ประเทศสมาชิกในกลุ่ม OPEC สามารถส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศผู้บริโภคได้ในราคาที่เหมาะสม และได้รับกำไรจากการลงทุนอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ OPEC ยังมีการให้ความช่วยเหลือเหล่าประเทศสมาชิกในด้านการพัฒนาการค้าขายทั้งทางด้านการสนับสนุนทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมด้านเทคโนโลยี


OPEC มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศสมาชิกแต่ละรายล้วนเป็นผู้ถือครองน้ำมันรายใหญ่ของโลก และที่สำคัญ ในปีค.ศ. 2016 OPEC ได้ร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกอีก 10 ประเทศจัดตั้งกลุ่ม OPEC+ เพื่อช่วยสนับสนุน OPEC ในการควบคุมราคาน้ำมันและการส่งออกสินค้า ประเทศในกลุ่ม OPEC+ ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน บรูไน คาซัคสถาน มาเลเซีย เม็กซิโก โอมาน รัสเซีย ซูดานใต้ และซูดาน OPEC+ ควบคุมแหล่งน้ำมันของโลกมากถึงร้อยละ 50 และ ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วมากถึงร้อยละ 90 ปริมาณน้ำมันที่ทั้ง OPEC และ OPEC+ ครอบครองอยู่ร่วมกันส่งผลให้ OPEC สามารถควบคุมราคาน้ำมันของโลกได้อย่างง่ายดาย


ผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบจาก OPEC นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน โดย OPEC มีการออกนโยบายควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศกลุ่มสมาชิก ดังนั้น เมื่อ OPEC มีนโยบายให้ลดการผลิตน้ำมันลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจึงพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ OPEC มีการควบคุมการผลิตน้ำมันในซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดใน OPEC และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากซาอุดิอาระเบียแล้ว ยังมีรัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่และอยู่ร่วมใน OPEC+ ทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียนับเป็นสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาน้ำมันของโลก


OPEC มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมราคาน้ำมัน โดยการควบคุมราคาน้ำมันนั้นเกิดขึ้นจากการตกลงกันเพื่อลดจำนวนการผลิตต่อวัน เพื่อให้ปริมาณน้ำมันไม่ล้นตลาด เพื่อให้น้ำมันยังคงเป็นที่ต้องการ และมีราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ OPEC ยังสามารถร่วมมือกันผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมเพื่อทำสงครามราคาน้ำมันกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก เช่น สงครามน้ำมันระหว่างกลุ่ม OPEC และสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 2014 ที่ประเทศกลุ่ม OPEC ร่วมกันผลิตน้ำมันดิบและส่งออกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตกลงมาอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมในช่วงปีค.ศ. 2011-2014 ที่เคยมีราคาอยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


นอกจากทำสงครามกับประเทศนอกกลุ่มแล้ว ประเทศสมาชิกยังอาจทำสงครามระหว่างกันได้ หากมีการตกลงการจำกัดการผลิตน้ำมันไม่ลงตัว เช่น สงครามน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามระหว่างประเทศในกลุ่มหรือในกลุ่ม OPEC ก็นับเป็นกลุ่มองค์กรรวมประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันอย่างยิ่ง


*ดังนั้น ข่าวคราวรายวันต่างๆเกี่ยวกับ OPEC จึงนับเป็นปัจจัยและอิทธิพลสำคัญต่อราคาน้ำมันดิบขึ้นลงเป็นอย่างมาก

เคล็ดลับการเทรดน้ำมันดิบง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์รายวัน

เคล็ดลับการเทรดน้ำมันดิบง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์รายวัน

ตลาดน้ำมันค่อนข้างมีความแตกต่างจากตลาดคู่เงิน, โลหะ หรือสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากผู้เทรดจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันค่อนข้างมาก และยังต้องตัดสินใจเทรดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทรดรายวัน ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องติดตามข่าวเกี่ยวกับ demand และ supply ของน้ำมัน รวมถึงพฤติกรรมราคา และการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม (Trend) อยู่เสมอ

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังผันผวนจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันค่อนข้างมีความอ่อนไหว ทำให้เทรดเดอร์ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้ละเอียดทุกครั้งก่อนตัดสินใจเทรดน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) หรือน้ำมัน WTI ก็ตาม


เฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย

เฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย โดยเหตุการณ์ต่างๆ จะส่งผลให้ราคาน้ำมัน และความต้องการน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อีกทั้งสถานการณ์น้ำมันในแต่ละฤดูก็จะมีความแตกต่างกันอีกด้วย


ตัวอย่าง: ในช่วงเดือน ส.ค. ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากมีการใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันจะลดฮวบภายในเดือน ต.ค. เนื่องจากเทศกาลวันหยุดกำลังจะสิ้นสุดนั่นเอง

นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ภูมิอากาศก็มีผลต่อราคาน้ำมันด้วยเช่นกัน และเนื่องจากเราไม่สามารถคาดการณ์สภาพอากาศที่แม่นยำได้ ทำให้น้ำมันดิบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหว เมื่อเทียบกับตราสารอื่นๆ เช่น หุ้น โดยราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นในฤดูหนาว และจะร่วงลงในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ

ความเชื่อมโยงระหว่างราคาน้ำมันและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

และเทคนิคสุดท้ายคือการหาความเชื่อมโยงระหว่างราคาน้ำมันและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยหากเงินดอลลาร์มีความแข็งค่ามากขึ้น ราคาน้ำมันดิบก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และก็แน่นอนว่าหากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ราคาน้ำมันก็จะตกลงเช่นกัน อย่างไรก็แล้วแต่ เทรดเดอร์ควรหมั่นติดตามข้อมูลย้อนหลัง และเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ เพื่อสังเกตแพทเทิร์นราคาที่ชัดเจนประกอบการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต


ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า


1. ราคาน้ำมันดิบที่เราเห็นกันตามเว็บไซต์ทางการเงินชั้นนำ รวมถึงแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือต่างๆ จะเป็นราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent เป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าราคามันจะแตกต่างกัน โดย Brent มักจะแพงกว่าและมีความผันผวนที่ต่ำกว่า


2. WTI (West Texas Intermediate) คือราคาน้ำมันดิบที่มีการผลิตและส่งมอบกันที่สหรัฐฯ แหล่งผลิตที่ใหญ่ๆเลยจะตั้งอยู่ที่รัฐลุยเซียนา และรัฐนอร์ทดาโคตา ส่วน Brent จะเป็นราคาน้ำมันดิบที่ผลิตและมีการส่งมอบกันที่ทะเลเหนือ อาทิ Norway, Scottland, Ekofisk, Oseberg และ Forties


โดยน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะเบากว่า มีซัลเฟอร์น้อยกว่า คุณภาพจะต่ำกว่าน้ำมันที่ผลิตและส่งมอบกันที่ทะเลเหนือ จึงมีราคาที่ต่ำกว่า


3. ราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ที่เราเห็นมักจะเป็นสัญญาคนละเดือนกัน อย่าง WTI จะเป็นสัญญาของเดือนถัดไป และจะหมดอายุโดยนับจากวันที่ 25 ขึ้นมา 4 วันทำการของแต่ละเดือน อย่างสัญญาของเดือนพฤษภาคมจะหมดอายุในวันที่ 21 เมษายน และซื้อขายวันสุดท้ายในวันที่ 20 เมษายน

ส่วนน้ำมันดิบ Brent จะต่างกัน โดยสัญญาล่วงหน้าของน้ำมันดิบ Brent ที่เราเห็นจะเป็นราคาของสัญญาล่วงหน้า 2 เดือน ยกตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายส่งมอบในเดือนมิถุนายนจะซื้อขายวันสุดท้ายในวันที่ 30 เมษายน


ขอขอบคุณที่มาข้อมูล - bangkokbiznews / mtrading.com / thestandard / investerest.co


#เคล็ดลับการเทรดน้ำมันดิบง่ายๆ



*เทรนด์ Trend Line ของราคาน้ำมัน (การวิเคราะห์ส่วนตัว ไม่มีผลต่อการแนะนำซื้อขายใดๆ)

เทรนด์ Trend Line ของราคาน้ำมัน (การวิเคราะห์ส่วนตัว ไม่มีผลต่อการแนะนำซื้อขายใดๆ)

*กำหนดให้ เส้น Trend สีน้ำเงินคือช่วงราคาขาขึ้น

*กำหนดให้ เส้น Trend สีแดงคือช่วงราคาขาลง

*กำหนดให้ เส้น Trend สีเหลืองคือช่วงราคา siteway


ถ้าเราวิเคราะห์จากกรอบ Timeframe ที่ใหญ่ คือ Weekly จะเห็นว่าแนวโน้มจุดเด่น Trend ราคาของน้ำมันจะเป็นในลักษณะถ้าขึ้นหรือลงก็จะเป็นในระยะยาวกันเลยทีเดียว มาดูกันเลยครับ เริ่มจาก

- ช่วง June 2017 - Aug. 2018 เป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น (ระยะเวลาประมาณ 15 เดือน)

- ช่วง Sep. 2018 - Dec. 2018 เป็นเทรนด์ขาลง ราคาน้ำมันดิบต่ำลง (ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)

- ช่วง Dec. 2018 - Dec. 2019 เป็น siteway ราคาน้ำมันผันผวน (ระยะเวลาประมาณ 15 เดือน)

- ช่วง Dec. 2019 - Apr. 2020 เป็นเทรนด์ขาลง ราคาน้ำมันดิบต่ำลง (ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน)

- ช่วง Apr. 2020 - Jan. 2022 เป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น (ระยะเวลาประมาณ 22 เดือน)

- ช่วง Jan. 2022 - May 2022 เป็น siteway ราคาน้ำมันผันผวน (ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน)

- และปัจจุบัน ช่วง May 2022 - Sep. 2022 เป็นเทรนด์ขาลง ราคาน้ำมันดิบต่ำลง (ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน)


😄อย่างที่ได้แจ้งไว้ครับ เป็นการวิเคราะห์ส่วนตัว ไม่มีผลต่อการแนะนำซื้อขายใดๆ (นำมาจากข้อมูลกราฟราคาน้ำมันจริง)


เอาละครับ ที่นี้ก็มาถึงโบรกเกอร์แนะนำสำหรับเทรดน้ำมันดิบ (WTI) ตัวย่อสัญลักษณ์ในการเทรด USOIL ก็คือ IUX Markets ที่มีจุดเด่นและความน่าเชื่อถือหลายๆด้าน

จุดเด่นของโบรกเกอร์ IUX Markets นอกจากสามารทำการเทรดน้ำมันดิบได้แล้ว ก็ยังมีจุดเด่นอื่นๆ อีกมากมาย เช่น


📌 มีโบนัสต้อนรับลูกค้าใหม่ให้ฟรีๆ 30 $ ดอลลาร์สหรัฐ รายละเอียด 👉 คลิ๊ก..!!!

📌 โบนัสเทรด 30 $ ปราศจากเงื่อนไขต้องทำให้ครบล๊อต หรือภายในระยะเวลา ? จึงไม่เกิดความกดดันมากเกินควร

📌 มีโบนัสเงินฝาก 35-50% ของเงินฝาก (อัตราปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาและนโยบายของบริษัท)

📌 คำสั่งการถอนเงินที่รวดเร็วและไม่มีหักค่าธรรมเนียมใดๆ (Admin.ถอนเงินเข้าธนาคารเฉลี่ยประมาณ 5-10 นาที เร็วที่สุดคือเร็วกว่า 1 นาที)

📌 การสมัครเปิดบัญชีที่รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่มีการยืนยันตัวตนที่ยุ่งยาก

📌 ช่องทางการฝากเงินหลากหลายแบบให้เลือก เช่น การสแกนบาร์โค๊ด Scan Barcode ซึ่งเงินเข้า Account ทันที

📌 มีโปรแกรม LotBack คือ แลกเปลี่ยนและรับคะแนน Points ที่สามารถแลกเป็นรางวัลโบนัสเครดิตได้อัตโนมัติและ ไม่จำเป็นต้องสมัคร เข้าร่วมได้ทันทีที่คุณเริ่มทำการซื้อขายคุณจะได้รับรายได้นี้

📌 ระบบบริการตอบคำถามสด Live chat ที่ปรับปรุงพัฒนาจนสามารถให้บริการได้ทุกวันตลอดเวลาและรวดเร็วทันใจมากๆ ซึ่งมีให้บริการครอบคลุมหลายภาษา

📌 เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่เสียค่าธรรมเนียม (No SWAP) เมื่อถือออเดอร์ข้ามวัน

📌 มี Spread (สเปรด) ที่ต่ำเป็นจุดเด่น ยิ่งโดยเฉพาะการเทรด ทองคำ (ท่านสามารถเปรียบเทียบได้โดยสะดวก)

📌 สามารทำการเทรด Cryptocurrency ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ได้ รายละเอียด 👉 คลิ๊ก..!!!


ไปเทรดน้ำมัน USOIL  และอื่นๆได้ตามสะดวกได้เลยครับ คลิ๊ก👇👇👇 IUX Markets - Simple Life with IUX Markets Broker

ไปเทรดน้ำมัน USOIL และอื่นๆได้ตามสะดวกได้เลยครับ คลิ๊ก👇👇👇




สมัครบัตรเครดิต UOB พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย

เงินติดล้อ สินเชื่อทะเบียนรถเก๋ง-กระบะ และรีไฟแนนซ์ พร้อม บัตรติดล้อ

91 views1 comment
bottom of page